ปรับคอนเทนต์ให้โดนใจ search intent keywords

search intent keywords

เครื่องมือสำคัญที่ช่วยผลักดันให้เว็บไซต์ติดอันดับบนหน้าแรกของ Search Engine อย่าง Google, Bing หรือ Social media ต่าง ๆ ซึ่งการทำคอนเทนต์ที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมายเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่ช่วยดึงดูดกลุ่มเป้าหมายได้แต่เราจะรู้ได้ยออย่างไรว่ากลุ่มเป้าหมายกำลังมองหาอะไรอยู่ ?

search intent keywords คือ วัตถุประสงค์ในการค้นหาของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่ง Google ให้ความสำคัญมากขึ้นเพื่อพัฒนาการนำเสนอคอนเทนต์ที่ตรงใจผู้ใช้งานมากที่สุด โดย Google ได้แบ่งประเภทของ search intent keywords ออกเป็น 4 ประเภท คือ

  1. การค้นหาข้อมูล (Informational intent) สำหรับการค้นหาประเภทนี้เป็นการค้นหาเพื่อให้ทราบถึงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าและบริการ โดยมักจะใช้คำค้นหาที่ช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจมากขึ้น เช่น วิธี, เทคนิค, คืออะไร หรือสำคัญอย่างไร เป็นต้น
  2. การค้นหาแบบเฉพาะเจาะจง (Navigational intent) เมื่อได้รับข้อมูลทั่วไปเรียบร้อยแล้ว ผู้ใช้งานมักจะเริ่มกระบวนการค้นหาเว็บไซต์ บล็อก หรือเพจที่มีผู้ใช้งานให้ความไว้ใจ หรือเชื่อใจเพื่อค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งการค้นหาลักษณะนี้โดยส่วนใหญ่แล้วกลุ่มเป้าหมาย หรือผู้ใช้งานมักจะใช้ชื่อแบรนด์สินค้า หรือบริการต่อท้ายสินค้า/บริการที่กำลังให้ความสนใจ หรือค้นหาด้วยชื่อแบรนด์โดยตรง
  3. การค้นหาเพื่อตัดสินใจ (Commercial investigation) การค้นหาประเภทนี้เป็นการค้นหาข้อมูลเชิงลึกเพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจ โดยการค้นหาลักษณะนี้จะเป็นไปในเชิงเปรียบเทียบข้อดี – ข้อเสีย ความคุ้มค่า
  4. การค้นหาเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการ (Transactional intent) เมื่อผู้ใช้งานทำการค้นคว้าข้อมูลที่ต้องการครบถ้วนแล้ว การค้นหาลักษณะนี้จะเป็นการค้นหาสุดท้ายเพื่อสั่งซื้อสินค้า หรือบริการที่กลุ่มเป้าหมายเชื่อว่าเกิดความคุ้มค่า หรือเกิดประโยชน์มากที่สุด โดยลักษณะคำที่ใช้ในการค้นหาเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการ เช่น ซื้อXXX, โปรโมชั่นXXX, ส่วนลด หรือคูปองส่วนลด เป็นต้น

เทคนิคค้นหา search intent keywords

เทคนิคสำคัญที่ช่วยให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ในการค้นหาสินค้า/บริการ ของกลุ่มเป้าหมายสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการนำคำค้นหา (Keyword) ที่ได้มาทดลองค้นหาใน Search Engine หรือ Social media ที่จะทำคอนเทนต์เพื่อดูลักษณะของการแสดงผลของ Search Engine หรือ Social media และนำมาปรับใช้กับคอนเทนต์ของตัวเอง

ตัวอย่าง: ใช้คำ “search intent keywords” ค้นหาใน Google จะพบว่าลักษณะคอนเทนต์ที่ Google แสดงผลออกมาจะเป็นเชิงให้ความรู้มากกว่าการขายสินค้าหรือบริการ โดยมีทั้งแบบบทความและแบบคลิปวิดีโอ แต่หากเปลี่ยนคำค้นหาเป็น “ผ้าขัดตัว” ใน Google จะพบกับคอนเทนต์ขายสินค้าหรือบริการบนเว็บไซต์ e-Commerce เป็นต้น

จากนั้นนำลักษณะคอนเทนต์ที่ Search Engine หรือ Social media แสดงผลมาใช้กับคอนเทนต์ของตัวเองแต่ที่สำคัญ คือ ต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วนและครอบคลุมที่สุด

สรุป การปรับคอนเทนต์ให้โดนใจกลุ่มเป้าหมายด้วย search intent keywords คือ การนำ Keyword ที่ต้องการทำคอนเทนต์ไปค้นหาใน Search Engine หรือ Social media และดูลักษณะ รูปแบบคอนเทนต์ในหน้าแรก จากนั้นนำมาใช้กับคอนเทนต์ของตัวเองและทำคอนเทนต์ให้มีเนื้อหาที่ครบถ้วนมากที่สุดนั้นเอง

รู้หรือไม่? ทำไมทำ SEO แต่อันดับไม่ขึ้น

เหตุผลที่ทำ SEO แต่อันดับไม่ขึ้น

Keyword เป็นเครื่องมือสำคัญและเป็นหลักพื้นฐานในการทำ SEO ทำให้การเลือก Keyword ที่ดี มีจำนวนผู้ค้นหาเยอะและการแข่งขันน้อยจะทำให้เว็บไซต์ติดอันดับได้ง่าย ซึ่งวิธีการหาไอเดีย Keyword ที่มือโปรใช้จะดูจาก Google Suggest และนำไปเช็คใน Keyword Research ซึ่งมีทั้งแบบไม่เสียค่าใช้จ่ายและเสียค่าใช้จ่าย เพื่อให้ได้ Keyword ที่ดีที่สุด

เว็บไซต์กับ Search Engine Optimization หรือ SEO เป็นของคู่กัน ทำให้ทั้งนักการตลาดมือใหม่และมือเก่าจำเป็นที่ต้องเรียนรู้พื้นฐานของ SEO เพื่อนำมาปรับใช้กับเว็บไซต์ของตนเอง ซึ่งข้อดีหลักที่นักการตลาดทราบกันดี คือ จะทำให้เว็บไซต์ติดอันดับการค้นหาบนหน้าแรกของ Search Engine แต่ก็มีหลายคนที่ทำ SEO ให้กับเว็บไซต์ แต่กลับไม่สามารถทำให้เพิ่มอันดับการค้นหาบน Search Engine ได้เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้

เหตุผลที่ทำ SEO แต่อันดับไม่ขึ้น

การทำคอนเทนต์ไม่มีคุณภาพ จริงอยู่ที่การเขียน บทความ SEO จะช่วยให้เว็บไซต์ติดอันดับได้ แต่หากคอนเทนต์เหล่านั้นไม่มีคุณภาพตามที่ Search Engine และกลุ่มเป้าหมายต้องการ ก็ไม่สามารถทำให้เว็บไซต์ติดอันดับได้เช่นกัน ซึ่งองค์ประกอบหลักของการทำคอนเทนต์ให้มีคุณภาพ คือ มีจำนวนคำที่เหมาะสม โดยค่าเฉลี่ยของคำที่เหมาะสมจะอยู่ที่ประมาณ 300 – 500 คำต่อหนึ่งบทความ มีภาพประกอบที่เกี่ยวข้องและเหมาะสมกับเนื้อหาและใช้ Keyword ในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป โดยส่วนใหญ่แล้วการใช้ Keyword ควรอยู่ที่ประมาณ 1% ของจำนวนคำทั้งหมดในหนึ่งบทความ

เว็บไซต์โหลดหน้าช้าเกินไป คนสมัยใหม่รออะไรไม่ได้นาน การที่เว็บไซต์ไม่สามารถตอบสนองได้ทันท่วงที อาจทำให้กลุ่มเป้าใหม่เลิกให้ความสนใจในที่สุด โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่ไม่เอื้อต่อการใช้งานบนมือถือยิ่งทำให้เว็บไซต์ด้อยคุณภาพ เนื่องจากในยุคปัจจุบันคนส่วนใหญ่ใช้งานเว็บไซต์บนมือถือมากกว่าอุปกรณ์อื่น ๆ

จัดเรียงเนื้อหาไม่น่าสนใจหรืออ่านยาก การเขียนบทความยาวตามคุณภาพที่ Search Engine ตั้งเป้าไว้เป็นเรื่องดี แต่หากไม่จัดเนื้อหาให้อ่านง่ายและมีความง่ายต่อการทำความเข้าใจ จะทำให้เว็บไซต์กลายเป็นเว็บที่ไม่มีคุณภาพ เนื่องจากมีจำนวนผู้ที่ใช้เวลาในเว็บไซต์น้อย

ใช้บทความซ้ำ การอัปโหลดบทความเป็นประจำทุกวันจะทำให้เว็บไซต์ติดอันดับได้ แต่การใช้บทความซ้ำบ่อย ๆ ไม่อาจทำให้เว็บไซต์ติดอันดับได้ เนื่องจากบทความหรือคอนเทนต์ที่ Search Engine ต้องการนั้น ต้องเป็นบทความที่มีความสดใหม่ ดังนั้นหากต้องการนำบทความเดิมมาใช้อาจต้องรีไรท์ให้เกิดความแตกต่างจากบทความเดิมให้มากที่สุด ซึ่ง https://smallseotools.com/plagiarism-checker/ เป็นเครื่องมือที่จะช่วยตรวจสอบข้อความซ้ำได้ดีระดับหนึ่ง สามารถนำผลการตรวจไปปรับปรุงการเขียนได้

การทำ SEO ให้กับเว็บไซต์ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของการทำคอนเทนต์หรือบทความเท่านั้น แต่การทำ SEO ครอบคลุมไปถึงการตั้งค่าและการจัดระเบียบภายในเว็บไซต์ด้วย ดังนั้น หากต้องการให้เว็บไซต์ติดอันดับ การหลีกเลี่ยงข้อควรระวังข้างต้น จะทำให้เว็บไซต์มีคุณภาพมากขึ้น

รู้หรือไม่ ทำไมทำ SEO แต่อันดับไม่ขึ้น

“Content is King” คำนี้ยังคงใช้ได้เสมอมา

ใช้ได้อยู่เสมอ

ประโยคสุดฮิตของการทำเว็บไซต์ที่นักทำมืออาชีพต่างยกย่องประโยคเด็ดว่าโดนใจมากที่สุดนั่นคือ “Content is King” เนื้อหาจะตอบทุกสิ่งทุกอย่าง เนื้อหาจะเป็นทุกสิ่งทุกอย่างของเว็บไซต์เรา มันคงใช้ได้จริงอยู่เสมอ แม้ว่านับวันนิสัยคนมักจะอ่านน้อยลงขึ้นเรื่อยเรื่อย อย่างโดยเฉลี่ยคนไทยเรามักจะนิยมอ่านตัวหนังสือไม่เกิน 8 บรรทัดเท่านั้น แต่ในหลักของการทำเว็บไซต์ ข้อมูลยิ่งยาวเท่าไหร่ มันก็คงจะดีกว่าบ่อยครั้งไป เพราะการที่คนเสิร์จค้นหามา เขาต้องการศึกษาข้อมูลอยู่แล้ว

ถ้าเข้ามาแล้วเจอหน้าเว็บโล่งๆ มีแต่รูปภาพ ไม่มีอะไรให้อ่านเลย บางครั้งอาจจะไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างแท้จริง ทำให้เว็บไซต์เราขาดเรื่องของคุณภาพไปในที่สุด รวมไปถึงอัลกอริทึ่มของผู้ให้บริการเสิร์ชเอนจิ้นก็อาจจะจับทางไม่ถูกได้ ว่าเว็บไซต์ของเรานั้นเกี่ยวข้องกับอะไรกันแน่ ปัจจุบันนั้น อัลกอริทึ่มสามารถอ่านรูปภาพและทำความเข้าใจได้เพียงระดับหนึ่ง ยังห่างไกลกับการอ่านตัวเนื้อหาโดยตรง ว่ามีความหมายสื่อไปในทิศทางใด เราจึงจะต้องรู้จักใช้ประโยค Content is King มาประยุกต์ในการทำ Website ให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด

ไม่ใช่แค่เขียนเยอะ แต่ต้องเขียนให้ตอบสนองผู้ใช้

เขียนตอบสนอง

ในบางเรื่องราว บางเนื้อหา อาจไม่จำเป็นจะต้องมีความยาวของบทความเป็นจำนวนมาก เพราะสิ่งที่ผู้ใช้ทำการค้นหาข้อมูลเข้ามา อาจจะต้องการประโยคสั้นเพียงคำตอบเดียวว่า ใช่หรือไม่ ได้ผลหรือไม่ได้ผล มันขึ้นอยู่กับสิ่งที่ผู้ใช้จะทำการค้นหาข้อมูลเข้ามาอีกทีนึง ดังนั้นการจะใช้ Content is King ด้วยความเข้าใจอย่างถูกต้อง มันไม่ได้จำกัดที่ความยาวของเนื้อหาอย่างเดียวเป็นหลัก แต่มันจะต้องสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่เข้ามาอย่างเว็บไซต์ของเราได้ด้วย หากเว็บมีเนื้อหายาวเป็นหนังสือนิยาย แต่ไม่สามารถตอบสนองผู้ใช้ได้อย่างแท้จริง มันก็คงจะไม่ดีสักเท่าไหร่

ของเหล่านี้จำเป็นจะต้องขึ้นอยู่ที่เรื่องความสำคัญของเรื่องนั้นนั้น ว่าเราควรจะออกแบบการเขียนว่าอย่างไร โลกนี้เต็มไปด้วยเนื้อหา การที่จะมานั่งอธิบายว่าสินค้าชนิดนี้ควรเขียนสั้นหรือเขียนเนื้อหายาวคงจะลำบาก วิธีที่ง่ายที่สุดคือแทนตัวเองเป็นผู้บริโภค แล้วดูว่าถ้าเป็นเราค้นหาข้อมูลเข้ามาอ่านในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การเขียนแบบไหนที่จะตอบโจทย์เรามากที่สุด จงใช้วิธีนี้มาเป็นตัวช่วยในการสร้างคอนเท้นต์ที่ดีให้กับเว็บของเรา